หน่วยที่ 1


หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ความหมายของคอมพิวเตอร์

          หมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่งที่สามารถรับโปรแกรมและข้อมูล 
ประมวลผล สื่อสารเคลื่อนย้ายข้อมูลและแสดงผลลัพธ์ได้วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์
            ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ จะมีขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน 4 ขั้นตอน
                   1. รับข้อมูล (Input) คอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่รับข้อมูลเพื่อนำไปประมวล 
อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ แป้นพิมพ์ (Keyboard) และ
เมาส์(Mouse) เป็นต้น
                   2. ประมวลผล (Process) เมื่อคอมพิวเตอร์รับข้อมูลเข้าสู่ระบบแล้ว 
จะทำการประมวลผลตามโปรแกรมหรือคำสั่งที่กำหนด เช่น การคำนวณภาษี 
การคำนวณเกรดเฉลี่ย เป็นต้น
                   3. แสดงผล (Output) คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากดการประมวลผล
ไปยังหน่วยแสดงผล อุปกรณ์ทำหน้าที่แสดงที่ใช้แพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่ 
จอภาพ(Monitor)และเครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นต้น
                   4. จัดเก็บข้อมูล (Storage) คอมพิวเตอร์จะทำการจัดเก็บข้อมูลลงใน
อุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)แผ่นฟลอบปีดิสก์ (Floppy Disk)เป็นต้น
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
            
                    คอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติที่สำคัญ 5 ประการดังนี้
1.การทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic machine)
          การจัดเก็บข้อมูลที่บันทึกผ่านทางแป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้จะถูก
แปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถประมวลผลได้ และเมื่อ
คอมพิวเตอร์ประมวลผลเรียบร้อยแล้วข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าจะถูกแปลงกลับให้เป็น
รูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้
2.การทำงานด้วยความเร็วสูง (Speed)เนื่องจากการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นระบ
อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นการดำเนินงานต่าง ๆ จึงสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว (มากกว่า
พันล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที)
3.ความถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได้ (Accuracy and Reliability)
คอมพิวเตอร์จะทำงานตามที่คำสั่งที่มนุษย์เขียนโปรแกรมหรือคำสั่งไว้  ถ้าผู้ใช้ป้อน
ข้อมูลและชุดคำสั่งมีความถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก็จะมีความถูกต้อง
เชื่อถือได้
4.การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก (Storage)
          คอมพิวเตอร์ทีหน่วยความจำที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่บันทึกไป ความสามารถใน
การจัดเก็บข้อมูลนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหมื่นล้านตัวอักษร
5.การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล (Communication)
           คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ และสามารถทำงานที่
หลากหลายมากขึ้นกว่าการใช้คอมพิวเตอร์ระบบเดี่ยว เช่น การนำคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อ
ระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้น
ประเภทของคอมพิวเตอร์

          คอมพิวเตอร์สามารถจำแนกได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของขนาด

เครื่อง ความเร็วในการประมวลผล และราคาเป็นข้อพิจารณา หลักโดยทั่วไปนิยมจำแนก
ประเภทคอมพิวเตอร์เป็น 6 ประเภท ดังนี้ คือ
          1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการ

ทำงานสูงสุด การใช้งานคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น การพยากรณ์อากาศ การทดสอบทาง
อวกาศและงานอื่นที่มีการคำนวณซับซ้อน
          2.คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe computer) 

เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงาน
จากผู้ใช้ได้หลายร้อยคน ประมวลผลด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำขนาดใหญ่ การจัด
เก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากใช้กับองค์การขนาดใหญ่ เช่น งานธนาคาร การจองตั๋วเครื่องบิน
 การลงทะเบียนและการตรวจสอบผลการเรียนของนักศึกษา เป็นต้น
          3.มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนากกลาง (Minicomputer) เป็นคอมพิวเตอร์

ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่าเมนเฟรมแต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ และสามารถ
รับรองการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงานที่แตกต่างกัน เช่น การคำนวณทาง
ด้านวิศวกรรม ทำให้การพัฒนามินิคอมพิวเตอร์เจริญอย่างรวดเร็ว การจองห้องโรงแรม 
การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ เป็นต้น
          4.เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (Server computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนการ

ทำงานของคอมพิวเตอร์เครือข่าย ซึ่งใช้ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น  
แฟ้มข้อมูล โปรแกรมประยุกต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
          5.ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีผู้นิยมใช้แพร่หลาย

มากที่สุด ส่งผลให้การพัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีลักษณะและรูปแบบที่แตกต่างกัน
 เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop computer) เหมาะกับโต๊ะทำงานในสำนักงาน
 สถานศึกษา และที่บ้าน คอมพิวเตอร์พกพา (Portable computer)เหมาะแก่การพกพาไ
ใช้ในสถานที่ต่าง ๆ เช่น Notebook computer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีน้ำหนักประมาณ 2-4 
กิโลกรัม อุปกรณ์ประกอบด้วยแป้นพิมพ์ขนาดมาตราฐาน ปกติจะมีเครื่องอ่านแผ่นดิสก์โดย
เฉพาะในปัจจุบันจะมีเครื่องอ่านผ่นซีดีรอมด้วย Subnotebook computer มีน้ำหนักน้อยกว่า
 2 กิโลกรัม จะไม่มีเครื่องอ่านแผ่นดิสก์ และจะใช้การ์ดบันทึกสำหรับงานเฉพาะอย่างแทน
 Laptop computer มีน้ำหนักและขนาดใหญ่กว่าคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค มีน้ำหนักประมาณ 
4-7 กิโลกรัม น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คมาจากน้ำหนักของฮาร์ดดิสก์และ
จอภาพแสดงผลที่มีขนาดใหญ่Hand-held computer อออกแบบขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะอย่าง
และนิยมใช้สำหรับงานที่มีการเคลื่อนย้าย เช่น การนับจำนวนสินค้า เป็นต้น Palmtop 
computer เป็นคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้จัดการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ ปฏิทินนัด
หมายการประชุม ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ การบันทึกสิ่งที่จะต้องทำ เป็นต้น 
ไม่มีฮาร์ดดิสก์สำหรับบันทึกข้อมูล Pen computer เป็นคอมพิวเตอร์พกพาที่ใช้ปากกา
ในการเขียนข้อมูลลงบนหน้าจอ  และในบางครั้งอาจใช้ปากกานี้สำหรับเป็นอุปกรณ์เพื่อ
เลือกการทำงานบนจอภาพ ระบบปากกาหรือ pen system นี้ใช้โปรแกรมพิเศษเฉพาะระบบ
 และเป็นคอมพิวเตอร์ที่ถือว่าประสบความสำเร็จ ประเภทที่กำลังได้รับความนิยมอย่าง
แพร่หลาย คือ personal digital assistant (PDA) หรือpersonal communicator

6.คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ฝังในอุปกรณ์ต่าง ๆ 
นิยมนำมาใช้ทำงานเฉพาะด้านจะทำงานที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของอุปกรณ์นั้น ๆ
 เช่น เครื่องเลนเกม ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
          องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์
          ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 6 ส่วน คือ
          (1)  ฮาร์ดแวร์ (Hardware)  หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง 

เช่นแป้นพิมพ์ เมาส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ 
ฮาร์ดแวร์จะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น
          (2) ซอฟต์แวร์ (Software) บางครั้งเรียกว่าโปรแกรม หรือชุดคำสั่งวัตถุประสงค์

หลักของซอฟต์แวร์ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน คือการประมวลผลข้อมูล (Data) ให้เป็นสา
สนเทศ(Information)
          (3) ข้อมูลหรือข้อสารสนเทศ (Dataหรือ Information)ในการประมวลผลข้อมูล 
คอมพิวเตอร์จะประมวลผลตามข้อมูลหรือข้อสนเทศที่ป้อนเข้าสู่หน่วยรับข้อมูล ดังนั้นข้อ
มูลจึงเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ได้จากการรวบรวม ซึ่งอาจจะเป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ 

หรือเสียง เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำการประมวลให้ได้สารสนเทศ
สารสนเทศ หมายถึง สิ่งที่ได้จากการประมวลผลแล้ว ซึ่งในในบางครั้งสารสนเทศอาจจะ

เป็นข้อมูลเพื่อการประมวลผลให้ได้ข้อสนเทศอีกอย่างหนึ่งก็ได้ เช่น คะแนนสอบของนัก
ศึกษาเป็นข้อมูล เมื่อผ่านการตัดเกรด จะได้เกรดเป็นสารสนเทศ และเมื่อนำเกรดนักศึกษา
ไปคำนวณหาค่าเฉลี่ย เกรดของนักศึกษาจะเป็นข้อมูล และสารสนเทศที่ได้คือเกรดเฉลี่ย
(GPA)
               (4) ผู้ใช้ (User) การทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องให้ผู้ใช้สั่งงาน
               (5) กระบวนการทำงาน (Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์

หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกัวบคอมพิวเตอร์จำเป็นที่ผู้ใช้จะต้องเข้าใจ
ขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้งานที่ถูกต้องและมีประสิทธภาพ
               (6) บุคลากรทางสารสนเทศ (Information systems personnel) เป็นส่วนที่

สำคัญของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดการให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ตลอดจนทำงานร่วมกับผู้ใช้ อย่างใกล้ชิด
บทบาทและหน้าที่ของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์
          บุคลากรที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ มีบทบาทและหน้าที่แตกต่างกัน

กับลักษณะของงานที่รับผิดชอบ ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
           1. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Operator)
        เป็นผู้รับผิดชอบดูแลเครื่องให้สามารถทำงานได้ตามปกติ หากเกิดปัญหาขัดข้อง

เกี่ยวกับระบบจะต้องแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบเพื่อทำการแก้ไข บำรุงรักษาอุปกรณ์
ที่มีอยู่ให้สามารถพร้อมที่จะนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          2.บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ (System) และโปรแกรม ประกอบด้วย
                 2.1 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (systems analyst and designer) 

ทำหน้าที่ศึกษาและรวบรวมความต้องการของผู้ใช้ระบบ และทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง
ระหว่างผู้ใช้ระบบและนักเขียนโปรแกรม (Programmer)

                 2.2 ผู้บริหารฐานข้อมูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น